แพทย์เตือนวัยทำงานเสี่ยงหมอนรองกระดูกเสื่อม

Written on:May 19, 2015
Comments
Add One

แพทย์เตือนวัยทำงานเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม แนะขยับร่างกายดูแลตัวเอง

วันนี้ (19 พ.ค. 58) นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า หมอนรองกระดูกสันหลังทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักตัว ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน รวมไปถึงพฤติกรรมต่างๆ ก็มีผลต่อการสึกหรอ เช่น ทำกิจกรรมซ้ำๆ เป็นเวลานาน โดยไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถ การยกของหนัก รวมไปถึงการสูบบุหรี่ทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณหมอนรองกระดูน้อยลง เป็นต้น

ทั้งนี้ การเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ร่างกายจะตอบสนองโดยการสร้างกระดูกงอกหรือหินปูนขึ้นมา เพื่อต้านการทรุดตัว ส่วนใหญ่กระดูกงอกจะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท ปวดขา ชาขา นอกจากนี้ หากกระดูกสันหลังมีการทรุดตัวมากขึ้นจะทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด หรือบางรายกระดูกสันหลังเคลื่อน

“อาการที่พบบ่อยคือ ปวดหลังเป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน มีอาการปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ทำให้เดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ อาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เป็นอาการเด่นของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ถ้าทิ้งไว้นานเส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง อาการชาและอ่อนแรงของขาซีกนั้นจะเริ่มเด่นชัดขึ้น ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดหลังร้าวลงขา ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษา ส่วนใหญ่รักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการ ร่วมกับยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นรอบๆ เส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น ชารอบก้น อั้นอุจจาระ และปัสสาวะไม่อยู่ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้น้อย จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน แพทย์จะผ่าตัดเพื่อตัดเอาส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว

นพ.สุพรรณ กล่าวว่า แนวทางป้องกันหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท คือ ใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ อย่านั่งอยู่กับที่นานติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะวัยทำงานที่มักนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ควรเปลี่ยนอิริยาบถ ด้วยการลุก ยืน เดิน มีการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ หลัง และหน้าท้องให้แข็งแรงสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลังลงโดยการปรับท่านั่งให้หลังตรงหรือเดินตัวตรง ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักที่มากเกินไป เนื่องจากหลังจะต้องเป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวของคนเรา เมื่อมีน้ำหนักตัวมากเกินไป การทำงานของกล้ามเนื้อหลังก็จะมากไปด้วยรวมทั้งงดการสูบบุรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้กระดูกพรุน และหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น

 

 

 

ขอบคุณที่มาและภาพประกอบจาก : TNN24

 

 


   ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ


สธ.กำหนดทุกจังหวัดหาจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่

ประดับโคมไฟรับเทศกาลตรุษจีนตระการตา

“ไก่-แมร์-ปุ้ย”เจอด่าให้ข้อมูลให้นมลูกผิดๆ

ทั่วไทยอากาศร้อนระอุ กทม.มีฝนบางแห่ง

แจ้งจับแกนนำแดงขึ้นป้ายแบ่งแยกปท.
หมาป่ากลับลำ
หมาป่ากลับลำพร้อมปล่อยเด รอสซี่ให้สมราคา

Leave a Comment

Your email address will not be published.