ผงะ! พบตุ๊กแกบินที่อุทยานฯภูหินร่องกล้า

Written on:October 22, 2014
Comments
Add One

พบตุ๊กแกบินบริเวณลานกางเต้นท์อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าจ.พิษณุโลก จนท.เวรรักษาการณ์เห็นลงมากินแมลงจึงจับไว้ให้อุทยานฯได้ศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะพบแต่กิ้งก่าบินได้

วันนี้(22 ต.ค.57) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้(21ต.ค.57) อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อ.นครไทย จ.พิษณุโลก เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ได้จับสัตว์เลื้อยคลานรูปร่างหน้าตาแปลกประหลาดชนิดหนึ่งได้ ขณะลงมาหากินแมลงบริเวณลานกลางเต้นท์ของอุทยานฯ ในช่วงกลางดึก จึงจับใส่ขวดน้ำไว้ และนำมาให้อุทยานฯทำการตรวจสอบ

ดยพบว่าสัตว์รูปร่างหน้าตาประหลาดที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เป็นสัตว์ประเภทตุ๊กแกคนในพื้นที่ได้ยืนยันว่า ตามที่เคยพบสัตว์ชนิดนี้ก็เพียงแต่เป็นกิ่งก่าที่บินได้เท่านั้น แต่ที่พบในครั้งนี้ที่พบเป็นตุ๊กแกบินได้และถือเป็นครั้งแรกที่มีการพบในอุทยานฯ ซึ่งลักษณะที่เด่นชัดของมันคือมีหนังจากข้างลำตัวทั้งสองข้างแผ่ออกคล้ายปีก ไปจนถึงขาทั้งสี่ขา เวลาบินจะใช้ขาสี่ขาเป็นอุปกรณ์เพื่อกางเป็นปีกร่อนไปมาระหว่างต้นไม้ 

จากการสังเกตที่หัวเป็นหัวตุ๊กแกและเท้าเป็นเท้าตุ๊กแกไม่ใช่เท้ากิ่งก่าส่วนหางมีรูปร่างแบนเป็นหยักคล้ายใบเลื่อย คลาดว่าสัตว์ประเภทนี้คงได้พัฒนาตัวเองให้เข้ากับธรรมชาติ ในการบินของมันจะคล้ายกับตัวบ่างโดยจะอาศัยอยู่บนต้นไม่ที่สูงกว่าแล้วทำการร่อนไปต้นถัดไป

ขณะที่นายมนัส สีเสือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้ าระบุว่า ผู้ที่พบตุ๊กแกบินได้คือนายนายดอนชัย ทองหงำ เจ้าหน้าที่เวรรักษาการณ์ พบขณะออกตรวจตรารักษาความปลอดภัยบริเวณลานกางเต้นท์ ซึ่งพบเจ้าตุ๊กแกตัวดังกล่าวอยู่ที่บริเวณพื้นดิน จึงจับมาเก็บไว้ เพราะไม่เคยพบเห็นมาก่อน โดยเฉพาะที่ภูหินร่องกล้าส่วนใหญ่แล้ว จะพบแต่กิ้งก่าบินได้ที่พบเห็นเป็นประจำ จากนั้นนายอดิษร ขันวิชัย ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานฯ จึงได้นำมาเลี้ยงไว้เพื่อทำการศึกษา เนื่องจากเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ยากก่อนเตรียมจะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

สำหรับการสืบค้นข้อมูล พบว่า ตุ๊กแกบินที่จับได้ที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้านั้น เป็นตุ๊กแกบินหางแผ่น เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งจำพวกตุ๊กแก มีรูปร่างคล้ายจิ้งจกบ้านทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีความยาวลำตัวประมาณ 9.5 เซนติเมตร หางยาว 9.5 เซนติเมตร มีพังผืดยึดระหว่างนิ้วเท้า ใต้เท้ามีแผ่นยึดเกาะเรียงเป็นแถวเดี่ยว ปลายนิ้วมีเล็บ มีแผ่นหนังแผ่กว้างออกมาจากข้างแก้มและลำตัวทำหน้าที่เหมือนปีกเครื่องร่อน หางแบนขอบหางหยัก ปลายหางแผ่เป็นแผ่นกว้างขอบเรียบและกว้างกว่าหาง ส่วนที่เป็นหยัก สันหางมีตุ่ม ลำตัวสีน้ำตาลหรือเทา มีแถบเข้มพาดขวางบนหลัง 4 แถบ หางมีลายพาด พบในป่าดิบในภาคใต้ของไทย ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช, จังหวัดปัตตานี พบได้จนถึงภาคเหนือของมาเลเซียจนถึงสิงคโปร์,หมู่เกาะนิโคบาร์ในอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ ยังพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียที่ติดกับพม่าด้วย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานเช่นเดียวกับตุ๊กแกบินหางเฟิน (P.lionotum) ซึ่งเป็นตุ๊กแกในสกุลเดียวกันด้วย

 

 
ขอบคุณที่มาและภาพประกอบจาก : TNN24

 


   ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ


“ซี ศิวัฒน์”บ่นอยากมีลูกแต่ยังไม่พร้อม

ปณท.จับมือไทยแอร์เอเชียขยายเส้นทางส่งของ

เลื่อนออกอากาศรายการ“คืนความสุขฯ”ไป6ธ.ค.

ผู้ค้าชาวกัมพูชาบุกทำร้าย DSI ขณะจับสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ที่จ.สระแก้ว

วอนช่วย!เจ้าตูบตกรถรอเจ้าของนาน7เดือน

แขวนคอชายอัฟกันรุมประชาทัณฑ์หญิงดับ

Leave a Comment

Your email address will not be published.