ปภ.แนะทุกภาคส่วนเตรียมรับมือปัญหาขาดแคลนน้ำ

Written on:March 2, 2016
Comments
Add One

ปภ.แนะทุกภาคส่วนเตรียมรับมือภัยแล้งใช้น้ำอย่างประหยัด-คุ้มค่า พร้อมกักเก็บน้ำไว้อุปโภค-บริโภคยามขาดแคลน

วันนี้(2 มี.ค.59) นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีปริมาณฝนน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ ทำให้สถานการณ์น้ำในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกรวมถึงความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นของทุกภาคส่วน ขณะที่ปริมาณน้ำต้นทุนของประเทศไทยมาจากน้ำฝนเป็นหลัก จึงคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2559 จะเกิดสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงและยาวนานกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง

ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติตนเพื่อรับมือและลดผลกระทบจากภัยแล้ง ดังนี้ ประชาชน จัดหาและซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน ไม่เปิดน้ำไหลทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ล้างจานในภาชนะรองน้ำ ไม่ใช้สายยางล้างรถ รวมถึงนำน้ำที่เหลือจากการใช้งานไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น อาทิ ทำความสะอาดบ้าน รดน้ำต้นไม้ เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ อาทิ ฝักบัวที่มีหัวฉีดขนาดเล็ก ก๊อกน้ำชนิดประหยัดน้ำ

รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์เติมอากาศที่หัวก๊อกน้ำ ฝักบัวหรือชักโครก เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำและลดปริมาณการใช้น้ำ หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ท่อส่งน้ำและก๊อกน้ำ หากมีน้ำรั่วซึมควรซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี เกษตรกร ติดตามสถานการณ์น้ำและแผนการจัดสรรน้ำในพื้นที่ พร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะหากใช้น้ำเกินปริมาณที่จัดสรร จะทำให้ไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับรักษาระบบนิเวศน์และผลิตน้ำประปาวางแผนการเพาะปลูกพืชให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน

โดยงดทำนาปรังในช่วงฤดูแล้ง เลือกปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยและมีตลาดรองรับ อาทิ เมลอน แตงโม หรือปรับเปลี่ยนไปเลี้ยงสัตว์ เช่น กบ ไก่ เป็นต้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูก โดยเลือกปลูกพืชเศรษฐกิจ นำพลาสติกมาคลุมดิน วางระบบน้ำหยดในการเพาะปลูกพืช ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำและเพิ่มผลผลิต สร้างระบบกักเก็บน้ำในพื้นที่การเกษตร โดยขุดลอกบ่อน้ำหรือคูน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ พร้อมตรวจสอบคันกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพแข็งแรง ใช้พลาสติกรองพื้นบ่อน้ำ หรือสระน้ำ จะช่วยลดการรั่วซึมของน้ำ ทั้งนี้ หากทุกภาคส่วนวางแผนการใช้น้ำที่มีปริมาณจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัด จะทำให้มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคตลอดช่วงฤดูแล้งปีนี้

ขอบคุณที่มาและภาพประกอบจาก : TNN24


   ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ


ช็อก! แฟนเก่าหึงโหด พาเพื่อนรุมแฟนใหม่ดับ
ปลาลำตะคองตายนับแสน
คาดแอมโมเนียรั่ว ทำปลาลำตะคองตายเกลื่อน
ค้ายาบ้า
รวบตัว น้องชายตร.นครศรีฯค้ายาบ้า
ไฟป่าลุกลามสเปน
ไฟป่าลุกลามสเปนหนัก ปชช.กว่า4พันเร่งอพยพ
ส่งกัญชาให้นายทุน
แก๊งวัยรุ่นรับจ้างส่งกัญชาให้นายทุน

อธิบดีกรมศุลฯคุมเข้ม”รถนำเข้า-เสื้อผ้าจีน” หนีภาษี

Leave a Comment

Your email address will not be published.