มติสภากลาโหมปรับเพดานเงินเดือนทหาร

Written on:May 28, 2015
Comments
Add One

สภากลาโหมมีมติ”ปรับเพดาน-ขยายขั้น”เงินเดือนทหารระดับพ.อ.-ทหารชั้นประทวน ลดความเหลื่อมล้ำกับขรก.พลเรือน

วันนี้(27พ.ค.58)ที่กระทรวงกลาโหม พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมสภากลาโหมที่มี พล.อ.ประวิตรวงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมว่า ที่ประชุมสภากลาโหมเห็นชอบตามข้อเสนอขอคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้างเงินเดือนและค่าตอบแทนของข้าราชการทหารตามร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร(ฉบับที่.. ) พ.ศ. … ในการปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการทหาร ฯ เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

มีสาระสำคัญ คือ ปรับเพดานอัตราเงินเดือนระดับ พ.อ. ขึ้นไป ให้เทียบเท่ากับ ข้าราชการพลเรือน ระดับตำแหน่งนายอำเภอขึ้นไป เพื่อให้เทียบกับข้าราชการพลเรือน ที่ได้มีการปรับปรุงระบบจำแนกตำแหน่งใหม่เป็น 4 กลุ่ม ตามลักษณะงานไปแล้ว เมื่อปี 51 ดังนี้ โดย น.7 ระดับ พล.ท. + 1 ขั้น ,น.6 พล.ต. + 2 ขั้น,น.5 พ.อ.(พิเศษ) + 0.5 ขั้น ,น.4 พ.อ. + 0.5 ขั้น

นอกจากนั้น ยังขยายเพดานเงินเดือนของนายทหารประทวน (ส.) ระดับ ป.1 และป.2 ให้เท่ากับระดับ ป.3 เพื่อให้เงินเดือนสามารถเลื่อนไหลไปได้จนถึงระดับชั้นสูงสุดของ ป.3 ได้ต่อเนื่องโดยไม่ติดขัด เช่นเดียวกับข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่มีอัตราเงินเดือนชั้นนายดาบรองรับ

 

 

พล.ต.คงชีพ กล่าวต่อว่า เหตุผลความจำเป็นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของข้าราชการทหารให้เทียบเท่าและใกล้เคียงกับข้าราชการพลเรือนที่มีการปรับขึ้นไปแล้วเมื่อปี51โดยในอดีต เมื่อปี 38 ข้าราชการทุกประเภท มีบัญชีอัตราเงินเดือนอัตราแนบท้ายอยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกันคือพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งพ.ศ.2538ซึ่งเดิมเงินเดือนของข้าราชการแต่ละระดับเป็นอัตราที่เทียบเคียงกันได้ พล.อ. – พล.ท. เท่ากับข้าราชการพลเรือนระดับ 11 , พล.ต.เท่ากับข้าราชการพลเรือนระดับ 10พ.อ.(พิเศษ) เท่ากับข้าราชการพลเรือนระดับ 9 ,พ.อ.เท่ากับข้าราชการพลเรือนระดับ 8

นอกจากนี้ ยังเห็นชอบ แนวทางการกำหนดค่าตอบแทนให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ โดยมีสาระสำคัญคือกำหนดเงินค่าตอบแทนให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ ในอัตรา นายทหารสัญญาบัตร วันละ 200 บาท นายทหารประทวน วันละ 180 บาท โดยการเบิกจ่าย ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550 โดยอนุโลม กลุ่มเป้าหมาย คือ กำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ที่ต้องถืออาวุธประจำกายในหน่วยทหาร ที่มีคลังอาวุธยุทโธปกรณ์และพร้อมแสดงกำลังได้ทันทีเมื่อมีเหตุการณ์วิกฤตเกิดขึ้นเหตุผลความจำเป็น ข้าราชการทหารมีภารกิจหลักคือ การป้องกันประเทศและปฏิบัติการอื่น นอกเหนือจากการสงคราม ซึ่งต้องจัดกำลังให้มีความพร้อมเพื่อเผชิญเหตุ ตามระดับเหตุการณ์ เวรรักษาการณ์จึงถือว่าเป็นกำลังเผชิญเหตุการณ์ระดับต้น ที่ต้องพร้อมปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง

“ปัจจุบันรัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดกฎหมายอย่างจริงจังในหลาย ๆ เรื่อง โดยมักมีขบวนการของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ทั้งข้าราชการ พลเรือน ทหาร ตำรวจ โดยเฉพาะการค้ามนุษย์ ขอให้หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ กวดขันปกครองบังคับบัญชากำลังพลได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากพบว่ามีกำลังพลของหน่วยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง จะต้องมีคำสั่งให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที และปรับย้ายออกนอกพื้นที่เป็นการชั่วคราว เพื่อตั้งคณะกรรมการสอบสวนและลงโทษเด็ดขาดทั้งวินัยและอาญา

พร้อมกันนี้ ขอให้หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงของกระทรวงกลาโหม และผู้บังคับบัญชาการเหล่าทัพ ชี้แจงการปฏิบัติหน้าที่ของกำลังพลในสังกัดในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายให้เข้มงวด บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้าใจกับประชาชน เพื่อสร้างความสงบสุขของประชาชนและให้ประเทศสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้” พล.ต.คงชีพ กล่าว

ขอบคุณที่มาและภาพประกอบจาก : TNN24


   ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ


สปส.แจ้งผู้ประกันตนเปลี่ยนสถานพยาบาลถึง31มี.ค.

ดินถล่มเหมืองหยกของเมียนมาดับ-สูญหายอื้อ

“ปอ-โบว์” ซิวอันดับ1คู่รักคนบันเทิงปี59

ทั่วไทยอากาศ ร้อนจัด-ภาตใต้-ตอ. มีฝน 10-60%

‘จาพนม’ถึงบ้านเกิดสุรินทร์ รุดกราบศพพ่อน้ำตาคลอ
ทำละหมาด
ชาวปาเลสไตน์ทำละหมาดในนครเยรูซาเล็ม

Leave a Comment

Your email address will not be published.