TDRIเตือนผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิต

Written on:March 24, 2014
Comments
Add One

TDRI เผยนักลงทุนไทยแห่ย้ายฐานการผลิต แนะรัฐ-นักลงทุนหาทางออกแก้ปัญหาระยะยาว

วันนี้ (24 มี.ค. 57) ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงภาพรวมของการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศเมียนมาร์และเวียดนามว่า สาเหตุหลักๆ ของการย้ายฐานการผลิตมีด้วยกัน 3 ประการ ประการแรกค่าจ้างแรงงานสูงและแรงงานตึงตัว กล่าวคือผู้ประกอบการหาแรงงานยากมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล บวกกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

ดร.เสาวรัจ กล่าวต่อว่า ประการที่สอง ลูกค้าเรียกร้องให้ผู้ประกอบการย้ายหรือขยายฐานไปประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่าเพื่อคงความสามารถในการแข่งขันด้านราคา และประการสุดท้าย ประเทศเพื่อนบ้านได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP จากตลาดสำคัญๆ ขณะที่ ประเทศไทยถูกตัดสิทธิ GSP เพิ่มเติมทั้งจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

ดร.เสาวรัจ กล่าวอีกว่า แม้การย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการ แต่การย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการไทยต้องระวังความเสี่ยงเรื่อง กฎระเบียบในต่างประเทศที่ยังไม่ชัดเจน และมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่ค่อยพัฒนา โดยเฉพาะการย้ายฐานการผลิตไปเมียนม่าร์ ซึ่งเป็นประเทศที่ผู้ประกอบการจำนวนมากกำลังให้ความสนใจ เนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงการเปิดประเทศและยังได้รับสิทธิพิเศษ GSP จากประเทศคู่ค้าสำคัญ ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะอยู่ในระหว่างการปฏิรูปกฎระเบียบต่างๆ ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเข้าไปตั้งฐานการผลิต หรือลงทุนผู้ประกอบการต้องพิจารณาว่าบริษัทจะสามารถรับความเสี่ยงดังกล่าวได้หรือไม่

 

ขอบคุณที่มาและภาพประกอบจาก : TNN24

 


   ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ

ฝนตกหนัก
อุตุฯเตือนเหนือ-อีสานมีฝนตกหนัก1-2วันนี้
ผู้ต้องสงสัย
หน่วยเฉพาะกิจ รวบผู้ต้องสงสัยป่วนปัตตานี
เบื่อหมา
สลด!คนใจบาปวางยาเบื่อสุนัขตายหมู่

2นักโทษเครือข่ายพงศ์พัฒน์ป่วยเครียดจัด

ม.ล.ปนัดดาเผยนายกฯ เป็นห่วงป้าสังเวียนเผาตัวเอง

ทะลัก“เจ็ท แอร์เวย์”ส้วมแตกกลางอากาศ

Leave a Comment

Your email address will not be published.